3G 4G เร็วแรงจริงหรือ

จากการเปิดประมูล ระบบ 3G โดย กสทช. ที่ผ่านไป ผู้ให้บริการเครือข่ายแต่ละค่ายได้พยายามโฆษณาถึงความพร้อมในการบริการ แสดงให้เห็นถึงความเร็ว แรง ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการอย่างกว้างขวางและเพียพอกับปริมาณการใช้ของผู้บริโภค รองการการใช้ข้อมูลจำนวนมหาศาล ทั้งเพื่อการศึกษา ดูหนัง ฟังเพลง แชร์ ข้อมูลส่วนตัว เรื่องราวต่างๆที่พบเจอ สามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา

จากระบบ GSM พัฒนาบนคลื่นความถี่ 850, 900 และ 1800 MHz ในระบบ 2G ที่ผ่านมา สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้มากพอสมควร ในรูปแบบ GPRS และ EDGE

มาตรฐาน 3G 2100 MHz มีความสามารถสูงสุดในการรับ-ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดถึง 42 Mbps แต่ด้วยระบบที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบันสามารถให้ความเร็วมากน้อยเพียงใด เร็ว แรง ตามที่มาตรฐานได้กำหนดไว้หรือไม่ ไม่เลย ในความเป็นจริง ทำความเร็วได้ไม่ถึงครึ่ง 21 Mbps ยังไม่ได้เลย แล้วจะได้อะไรกับการให้บริการ การโฆษณาว่าพร้อม

ทำไม่ 3G ถึงได้ไม่ เร็ว แรง อย่างที่คิด

ระบบ 3G ที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ให้บริการเครือข่ายคลื่่นความถี่ค่านต่างๆยังคงให้บริการในคลื่นความถี่เดิม

  • AIS        คลื่นความถี่  900,  1800 MHz   ความกว้างของคลื่น 5MHz
  • DTAC    คลื่นความถี่  850 MHz               ความกว้างของคลื่น 10MHz
  • Truemove H คลื่นความถี่  850 MHz    ความกว้างของคลื่น 15MHz
  • TOT3G คลื่นความถี่  2100 MHz             ความกว้างของคลื่น 15MHz   *เป็นรายเดียวที่ใช้คลื่นความถี่ 2100 MHz ตั้งแต่เริ่ม แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่มากพอ

การให้บริการ ระบบ 3G บนคลื่นความถี่เดิมสามารถกระทำได้ตามระบบ แต่ความเร็วที่ได้ไม่เสถียนพอ ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้  ระยะห่างจากเสาสัญญาณ ยังไม่เพียงพอ ไม่ครอบคลุ่มพื้นที่ให้บริการมากพอ

เมื่อมาตรฐานที่ถูกกำหนด ไม่ได้ถูกบังคับใช้อย่างจริงจังจาก กสทช. ผู้บริโภคทั้งหลายๆก็ต้องถูกเอาเปรียบกันต่อไป อัตราค่าบริการก็ไม่ได้ถูกลงสักเท่าไหร มาตรฐานใหม่ก็กำลังได้รับการพัฒนา มีการนำเข้ามาใช้ทั้งๆที่ยังไม่พร้อม แต่การโฆษณาชวนเชื่อ ได้กระทำไปแล้ว ผู้บริโภคก็เชื่อๆกันไปตามคำโฆษณา กสทช. ก็ไม่บังคับใช้กฎระเบียบ การเอาเปรียบผู้บริโภคด้วยการสร้างภาพก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มาตรฐานใหม่ที่ว่าก็คือ 4G (4G LTE) ผู้ให้บริการบางรายก็โฆษณาถึงความพร้อมอีกแล้ว ให้บริการแล้ว เร็ว แรง แค่ไหน ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรไม่ทราบ แต่ผู้บริโภคกลุ่มแรกๆก็ทดลองใช้กันไปแล้ว จ่ายไปแล้ว คุ้มหรือปล่าย

แอนดรอยด์ OS มหัศจรรย์

แอนดรอยด์ (Android) OS มหัศจรรย์ คือ ระบบปฏิบัติการที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในแบบที่เรียกว่า สมาร์ตโฟน (Smart phone) หรือแท็บเล็ต (Tablet) เป็นระบบปฏิบัติการที่มีพื้นฐานอยู่บนลินุกซ์ ถูกออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้จอสัมผัส ส่งผลให้ความสามารถของโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นต่างๆที่รองรับเพิ่มขีดความสามารถได้อย่างน่าทึ่ง เป็นระบบปฏิบัติการที่มีผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่นขึ้นมาพร้อมใช้งานอย่างแพร่หลาย มีหลากหลายความสามารถที่เพิ่มเติมให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งในรุ่นก่อนๆไมม่มี ทำไม่ได้ ให้ดูมีชีวิตชีวา การใช้งานก็ง่ายมากๆ เพียงผู้ใช้มีอีเมลของ กูเกิ้ล (Google) ก็สามารถสมัครเข้าใช้งานได้แบบฟรีๆ บางแอปพลิเคชั่นอาจต้องซื้อ แต่อแปพลิเคชั่นจำนวนไม่น้อยที่ผู้พัฒนาได้ให้ผู้ใช้สามารถโหลดใช้ได้เลย

แอนดรอยด์ ถือกำเนิดเมื่อเดือน ตุลาคม ปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ.2003) Andy Rubin ได้ก่อตั้งบริษัท แอนดรอยด์ (Android, Inc.) พร้อมกับเพื่อนร่วมงานที่ถือว่ามีความสามารถแตกต่างกันออกไปในแต่ละด้าน ต่อมา กูเกิล ได้ทำการซื้อต่อบริษัทในปี พ.ศ. 2548 ร่วมกันพัฒนามาเรื่อยจนเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2550 โทรศัพท์มือถือรุ่นแรก ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ ก็ได้ออกวางจำหน่าย ซึ่งสมาร์ทโฟนรุ่นแรกที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ คือ HTC Dream ออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2551 และได้รับการยอมรับมาจนถึงปัจจุบัน
android

           ด้วยชื่อรุ่นที่ตั้งตามชื่อขนมหวานน่ารับประทาน แต่ไม่ต้องกลัวอ้วนใช้เยอะๆใช้ยังไงก้ไม่อ้วน รุ่นพัฒนาของแอนดรอยด์จะใช้รหัสชื่อเป็นชื่อขนมหวาน โดยมีตัวอักษรขึ้นต้นเรียงลำดับกัน

รุ่น ชื่อเล่น API Level ลินุกซ์ เคอร์เนล เปิดตัว
1.0 1 23 กันยายน 2551
1.1 2 9 กุมภาพันธ์ 2552
1.5 Cupcake (คัพเค้ก) 3 2.6.27 30 เมษายน 2552[6]
1.6 Donut (โดนัท) 4 2.6.29 15 สิงหาคม 2552 (SDK)
2.0 Eclair (เอแคลร์) 5 2.6.29 26 ตุลาคม 2552[7]
2.0.1 Eclair (เอแคลร์) 6 2.6.29 3 ธันวาคม 2552
2.1 Eclair (เอแคลร์) 7 2.6.29 12 มกราคม 2553 (SDK) [8]
2.2 Froyo (โฟรซเซนโยเกิร์ต) 8 2.6.32[9] 20 พฤษภาคม 2553 (SDK)
2.3 Gingerbread (ขนมปังขิง) 9 2.6.35[10] 6 ธันวาคม 2553 (SDK)
2.3.3 Gingerbread (ขนมปังขิง) 10 2.6.35 9 กุมภาพันธ์ 2554 (SDK)
3.0 Honeycomb (รวงผึ้ง) 11 2.6.36[11] 22 กุมภาพันธ์ 2554 (SDK)
3.1 Honeycomb (รวงผึ้ง) 12 2.6.36 10 พฤษภาคม 2554 (SDK)
3.2 Honeycomb (รวงผึ้ง) 13 2.6.36 15 กรกฎาคม 2554 (SDK)
4.0 Ice Cream Sandwich (แซนด์วิชไอศกรีม) 14 3.0.1[12] 19 ตุลาคม 2554 (SDK)
4.0.3 Ice Cream Sandwich (แซนด์วิชไอศกรีม) 15 16 ธันวาคม 2554 (SDK)
4.1 Jelly Bean (เจลลีบีน) 16 3.0.31 28 มิถุนายน 2555
4.2 Jelly Bean (เจลลีบีน) 17 3.4.0 29 ตุลาคม 2555
4.3 Jelly Bean (เจลลีบีน) 18 3.4.0 24 กรกฎาคม 2556

ส่วนแบ่งทางการตลาดของแอนดรอยด์

android 01

ที่มา : IDC Worldwide Quarterly Mobile Phone Tracker, May 2013.

จากภาพแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าส่วนแบ่งทางการตลาดของแอนดรอยด์สูงมากถึง 79.30% ฉีกหนีเจ้าแห่งการตลาดอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นแอปเปิ้ล  (iOS from Apple) ซึ่งมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพียง 13.20% หรือแม้แต่วินโดว์เองก็ทำได้เพียงแค่ 2.90% แต่ที่น่าเสียดายกับการที่ผลของส่วนแบ่งจากโนเกียอย่าง ซิมเบี้ยนเองที่มีเพียง 0.20% แทบจะเป็นการล้นหายตายจากกัลไปเลยที่เดียว และหากมองไปให้ไกลกว่านี้ จากการเป็นที่ยอมรับของ แอนดรอย์ ซึ่งสามารถรองรับกับโทรศัพท์และแท็บเล็ตหลากหลานรุ่นแล้ว แน่นอนครับว่าอนาคตของแอนดรอยด์ยังสดใส พร้อมทยานไปได้อีกไกล

ด้วยจำนวนสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้กว้างขวางมากขึ้น และที่สำคัญการที่แอนดรอยด์สามารถรองรับการใช้งานได้อย่างหลากหลายนี้เองที่ส่งผลให้ส่วนแบ่งทางการตลาดมีโอกาสที่สดใสรออยู่ข้างหน้า และที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันนั่นก็คือการที่แอนดรอยด์มีแอปพลิเคชั่นที่มีผู้ร่วมพัฒนาหลายแสนแอปพลิเคชั่น ผู้ใช้สามารถเลือกโหลดมาทดลองใช้งานได้ง่ายและฟรีอีดด้วย ยิ่งเป็นแรงผลักดันให้ตลาดผู้นิยมใช้ แอนดรอยด์ เพิ่มสูงมากขึ้นอย่างแน่นอน